PostTrick.com

Ideas to Live a Better Life! แหล่งรวมความคิดเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อเมืองไทยไร้มลพิษ

ประชาชน ต้องช่วยกัน จัดการไฟป่า เพราะเราทุกคนคือเจ้าของประเทศ

จัดการไฟป่าและหมอกควัน ด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

“ไม่ควรต้องมีใครต้องมาตาย เพราะความเห็นแก่ตัวของคนบางคนคน”

ปัญหาไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พื้นที่ป่าลดลง รบกวนสมดุล ทำลายระบบนิเวศอย่างรุนแรง และก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศในวงกว้าง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปากท้องประชาชน สุขภาพของพ่อแม่ ครอบครัว บุคคลที่เรารัก รวมถึงการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ

จากข้อมูลสถิติการเกิดไฟป่าในประเทศไทยระหว่าง ปี 2560 – 2562 พบว่า

ไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ส่วนใหญ่มาจาก ความโง่สะสมของกลุ่มคนบางกลุ่ม ที่ถูกนายทุน และนักการเมืองชั่วหนุนหลังให้เผาเพื่อครอบครองที่ทำกิน และการเผาเพื่อเก็บของป่า (ต้องการข้อมูลอ้างอิง ให้ทดลองยึดพื้นที่ป่าคืนสักผืนสองผืน เดี๋ยว ม๊อบ เห มา ก็มา พร้อมคำสั่งย้ายของ จนท. ในพื้นที่)

เฉลี่ยร้อยละ 68.9 ของสาเหตุการเกิดไฟป่าทั้งหมด

สถานการณ์ไฟป่าในปี 2562 มีพื้นที่ป่าถูกไฟไหม้ จำนวน 151,681.9 ไร่

นปี 2563 มีแนวโน้มความรุนแรงไม่น้อยกว่าที่ผ่านมา โดยศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยจะสูงกว่าค่าปกติ และมีน้ำฝนต่ำกว่าค่าปกติ ต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2563 (1)

ภาครัฐ ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาไฟป่าและปัญหาฝุ่นและหมอกควันในภาคเหนือ โดย ได้มอบนโยบายเตรียมรับมือสถานการณ์ไฟป่า ปัญหาฝุ่นและหมอกควัน ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2562 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ทุกหน่วยภาครัฐ เร่งแก้ไขปัญหาโดยเร็ว เพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและิสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่ได้ทุ่มเทสรรพกำลังและทรัพยากรเพื่อหยุดการเผา และควบคุมไม่ให้ปริมาณฝุ่นละอองสูงเกินค่ามาตรฐานตลอดปี 2563 โดยได้ดำเนินการลดจุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ป่า ในช่วงระหว่างวันที่ 15 มีนาคม ถึง 30 เมษายน 2563  และระดมสรรพกำลังทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ สนับสนุนการลาดตระเวนเฝ้าระวังและดับไฟ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ได้ประชุมศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันแห่งชาติ เพื่อเตรียมการรับมือและติดตามสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ โดยให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญของการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ในการร่วมมือแก้ไขปัญหา และขอให้ทุกจังหวัดและทุกหน่วยงานเข้มงวด กวดขันในการควบคุมไม่ให้มีการเผาในพื้นที่

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563  รมว.ทส. ได้ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่  เพื่อตรวจสอบพื้นที่เกิดไฟป่าและร่วมกำจัดเชื้อเพลิง รวมถึงหารือแนวทางการฟื้นฟูสภาพป่าและให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ณ บริเวณพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งนายพงศ์บุณย์ ปองทอง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (ส่วนหน้า) รายงานการดำเนินงานป้องกันและควบคุมไฟป่าของภาคเหนือ มีพื้นที่รวมประมาณ 33 ล้านไร่ พบพื้นที่ป่าถูกเผาไหม้ไปแล้วรวม 8.5 ล้านไร่ ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่สามารถคำนวณเป็นมูลค่าได้

พร้อมกันนี้ นายวราวุธได้เป็นประธานการประชุมติดตามและมอบนโยบายการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลสวัสดิการ สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ และในช่วงที่ประกาศปิดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั้งหมด หากพบผู้บุกรุกให้จับกุมดำเนินคดีทันทีโดยมิให้ละเว้น

รวมถึงให้พิจารณาแนวทางการใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) ในการสำรวจตรวจจับจุดความร้อน และพิจารณาแนวทางการกำหนดให้เจ้าหน้าที่เข้าไปประจำในหมู่บ้านต่าง ๆ เฝ้าระวังในหมู่บ้านพื้นที่ที่มีความเสี่ยง จัดหาอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยสำหรับทีมดับไฟป่าและทีมลาดตระเวน ที่สำคัญให้สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เพื่อถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นเก่าในกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่ป่าและความเสียหายจากป่า

และเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563  พลเอกประวิตรได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน ณ ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ โดย รมว.ทส. ได้รายงานผลการดำเนินงานว่าได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (ส่วนหน้า) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำการอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้รวมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเขตจังหวัด จำนวน 4,000 นาย ร่วมเฝ้าระวังและลาดตระเวนดับไฟป่า ตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้ ยังได้จัดชุดดับไฟป่า จำนวน 3,000 นาย ร่วมดับไฟและเก็บไฟ รวมทั้งจัดชุดเจ้าหน้าที่ประจำหมู่บ้านในพื้นที่เสี่ยง ร่วมกับฝ่ายปกครอง ทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร จิตอาสา เครือข่ายชาวบ้าน เพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ยังได้มีการบังคับใช้กฎหมายและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างเคร่งครัด

ผลจากการดำเนินงานดังกล่าว ทำให้ภาพรวมสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในภาคเหนือดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนจุดความร้อนลดลง ค่าฝุ่น PM2.5 ลดลง สามารถมองเห็นทัศนียภาพดอยสุเทพ-ปุย ได้อย่างชัดเจนขึ้น รวมทั้งสามารถจับกุมและฟ้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้มากขึ้น โดยในครั้งนี้ พลเอกประวิตรได้เน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน รวมถึงช่วยขยายผลการสร้างการรับรู้ เพื่อสร้างแนวร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้อันมีค่าไว้ให้ลูกหลานสืบไป

อีกทั้งในระดับพื้นที่ ยังมีอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ประชาชนจิตอาสา เฝ้าระวังไฟป่า ลดหมอกควัน ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ หรือ ทสม.ล้านนา ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน  ลำพูน น่าน พะเยา แพร่ ลำปาง ตาก  ซึ่งมีสมาชิก จำนวน 35,283 คน ร่วมออกปฏิบัติงานเฝ้าระวังไฟป่า โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนได้ออกลาดตระเวนพื้นที่ ทำแนวกันไฟป่า จัดการเชื้อเพลิงและลดการเผา ร่วมวางแผนกับหน่วยงานในพื้นที่ และร่วมดับไฟป่าในชุมชนอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ตลอดจนร่วมสร้างฝายชะลอน้ำ  เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ป่า ให้ความรู้ถึงสาเหตุและผลกระทบจากไฟป่าหมอกควันให้แก่คนในชุมชนด้วย

ข้อมูลข่าวจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

admin • April 16, 2020


Previous Post

Next Post

Leave a Reply

Your email address will not be published / Required fields are marked *